วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553



จิตกับอารมณ์


จิต คือ ธาตุรู้ ทรงไว้ซึ่งความรู้ตลอดทุกกาลสมัย ส่วน อารมณ์ ประกอบด้วยธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ผสมกัน หรืออาศัยธาตุทั้ง ๔ เป็นแดนเกิด เช่น รูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส เป็นต้น
อารมณ์ เป็นสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ ไม่สามารถรู้อะไรได้เลย แต่ จิต รับรู้ เมื่อกระทบกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เกิดจักขุวิญญาณ,โสตวิญญาณ,ฆานวิญญาณ,ชิวหาวิญญาณ, กายวิญญาณ และมโนวิญญาณขึ้น เมื่อจิตกับอารมณ์กระทบกัน ก็ย่อมส่งผลให้จิตเกิดความฟุ้งซ่าน หวั่นไหว เกิดความนึกคิด ความยินดี-ยินร้าย และทำให้เกิดความยึดมั่นถือมั่นตามมาด้วย ถ้าอุปมา จิต เหมือน น้ำในมหาสมุทร แล้ว อารมณ์ ก็ย่อมต้องอุปมาเหมือน ลมพายุที่พัดมากระทบผิวน้ำในมหาสมุทร ซึ่งทำให้เกิดเป็นลูกคลื่นน้อยใหญ่กลิ้งตัวตามกำลังลมพายุที่พัดนั้นด้วย

ลูกคลื่นลูกหนึ่งเกิดขึ้น แล้วก็ทยอยตัวดับตามๆกันไป ทั่วท้องมหาสมุทรตลอดเวลาที่ลมพายุพัดอยู่ ถ้าลมพายุหยุดพัดเสียเมื่อไหร่ ลูกคลื่นทั้งหลายที่กล่าวมาข้างต้น ก็ย่อมลดขนาดเล็กลงๆ ตามลำดับเมื่อนั้นด้วย จนกระทั่งเหลือแต่ผิวน้ำที่เป็นเส้นระดับราบเรียบในที่สุด ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่า สภาพเดิมที่แท้จริงของน้ำในท้องมหาสมุทรนั้น สงบ ราบเรียบ ไม่ปั่นป่วนวุ่นวาย แต่ที่เกิดมีคลื่นน้อยใหญ่วุ่นวายนั้น เป็นสภาพที่เกิดขึ้นภายหลัง เพราะมีลมพายุพัดมากระทบผิวน้ำ ซึ่งเป็นเช่นเดียวกับจิต ที่มีสภาพเดิมอันสงบราบเรียบ แต่ที่ได้วุ่นวาย กระสับกระส่ายไปมาในภายหลังเพราะมีอารมณ์เข้ามากระทบ ฉะนั้น
จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เราสามารถสรุปกล่าวให้เป็นสัจธรรมได้ว่า

มี น้ำ โดย ไม่มีลูกคลื่น เลย --- > ย่อมได้แต่จะมี ลูกคลื่น โดย ไม่มีน้ำ นั้น --- > ย่อมไม่ได้
หรือ มีจิต โดย ไม่มีอาการหวั่นไหวจากอารมณ์เลย --- > ก็ย่อมได้แต่จะ มีอาการหวั่นไหวจากอารมณ์ โดย ไม่มีจิต นั้น --- > ย่อมไม่ได้ เป็นธรรมดา
ดังนั้น น้ำ กับ ลูกคลื่น จึงแยกออกจากกันได้ และ จิต กับ อารมณ์ จึงแยกออกจากกันได้ จิตไม่ต้องพึ่งพาอาศัยอารมณ์ใดๆทั้งสิ้นโดยปรมัตถ์ เช่น วิมุตติจิต (จิตหลุดพ้น).
วิเคราะห์คำว่า เกิด-ดับ หรือ เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป

จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เราย่อมเห็นได้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นและดับไปจากผิวน้ำนั้น ก็คือ ลูกคลื่น และ สิ่งที่วุ่นวายกระสับกระส่ายเพราะมีอารมณ์มากระทบนั้น คือ อาการของจิต
แต่ น้ำ และ จิต ซึ่งเป็นของเดิมนั้น ยังคงยืนตัวรองรับความเป็นไปของอาการเคลื่อนไหวทั้งหลายอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นเวลาใดก็ตาม ไม่เคยดับตายสูญหายไปไหน ดังนั้นคำว่า เกิด-ดับ หรือ เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป จึงไม่สามารถใช้ควบคู่กับน้ำในมหาสมุทร หรือ จิตซึ่งมีอยู่เดิมได้เลย แต่สามารถใช้กับลูกคลื่นและความวุ่นวายกระสับกระส่ายของจิตได้โดยเฉพาะเท่านั้น กล่าวให้ชัดก็คือ อาการของจิต(ซึ่งเป็นนามขันธ์)เกิดขึ้นที่จิต แล้วก็ดับไปจากจิตตามลำดับ แต่จิตยังคงยืนตัวรู้อยู่ตลอดทุกกาลสมัย ไม่ได้พลอยเกิดดับตามอารมณ์ทั้งหลายไปด้วย
หมายความว่า อารมณ์อันใดเกิดขึ้นก็รู้ อารมณ์อันใดตั้งอยู่ก็รู้ อารมณ์อันใดดับไปก็รู้ เพราะผู้ปฏิบัติได้นำความรู้ไปตั้งไว้ที่ฐานที่ตั้งสติอย่างมั่นคง วางเฉย ไม่ยินดียินร้ายกับอารมณ์ทั้งหลายเสียอย่างสิ้นเชิงแล้ว เพราะฉะนั้น การเกิด-ดับ จึงเป็น อาการของจิต ที่เข้ามาปรุงแต่งจิต แล้วก็ดับไป ซึ่งท่านเรียกว่า พระไตรลักษณ์ คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน
ถ้าจิตรู้เท่าทันอาการของจิตที่เกิดขึ้น โดยการปล่อยวางเสีย อำนาจพระไตรลักษณ์ย่อมเข้าครอบงำจิตไม่ได้ จึงไม่เป็นทุกข์ แต่ถ้าจิตไม่รู้เท่าทันอาการของจิต คือพลอยหวั่นไหวยินดี-ยินร้ายตามไปด้วย ก็ย่อมถูกอำนาจพระไตรลักษณ์ครอบงำเป็นธรรมดา จึงต้องเป็นทุกข์ และจิตชนิดหลังนี้ ก็จัดเป็นโลกียจิต หรือยังเป็น วิญญาณขันธ์ ซึ่งเป็นจิตของปุถุชน (ผู้หนาไปด้วยกิเลส) อยู่นั่นเอง.

คำนิยามเรื่องเกิด-ดับ
สิ่งใดที่ไม่มีอยู่ในขณะปัจจุบันแล้วปรากฏขึ้นมา เรียกว่า เกิดสิ่งใดมีอยู่ในปัจจุบัน แล้วหายไป เรียกว่า ดับ การเกิดทางเนื้อหนังร่างกาย เรียกว่า ชาติการเกิดทางจิต เช่น ตรัสรู้ เรียกว่า อุบัติ
การแตกดับทางเนื้อหนังร่างกายแต่จิตจุติ(เคลื่อน)ไปสู่ภพใหม่ เรียกว่า ตาย(มรณะ) การหยุดคิดทางจิต เรียกว่า นิรุชฌ์การดับกิเลสทางจิต เรียกว่า นิโรธ.

วิทยุออนไลน์

ยินดีต้อนรับทุกๆท่านที่ชอบฟังธรรมะ

 สวดมนต์จีน >::สวดมนต์อินเดีย >และสวดมนต์ธิเบต>::สวดมนต์ไทย >::เสียงหนังสือธรรมะ >::เสียงเพลงธรรมะ::,

 ::suwanradio คือมิตรภาพบนโลกไอที ::
 

สถานีความแห่งความรู้สาระธรรมบนโลกอินเตอร์เน็ต ศูนย์รวมแห่งเสียงธรรมะดีดี 


วิทยุวัดป่าดอนสวรรค์

Blogger Tricks


 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons